เกี่ยวกับหน่วยงาน


 

 

กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต

 

1. กำหนดมาตรฐาน มาตรการ และกลไกการจัดบริการสวัสดิการสังคมแก่คนไร้ที่พึ่งและผู้ทำการขอทาน

2. พัฒนาระบบ รูปแบบการดำเนินงานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้ที่พึ่งและผู้ทำการขอทาน

3. ช่วยเหลือ คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่คนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน

4. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชนกลุ่มคนไร้ที่พึ่ง และองค์กรเครือข่ายที่ เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และงานเลขานุการของคณะกรรมการควบคุมการขอทาน

6. กำกับ ดูแล และติดตามการดำเนินงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต

7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยง่านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
 

 

:: โดยแบ่งงานภายในกองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ::
 

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
อำนาจหน้าที่
1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานพัสดุ การบริหารงานทั่วไป งานงบประมาณ และงานบุคคล
2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
 
 
กลุ่มมาตรการและกลไก
อำนาจหน้าที่

1. กำหนดมาตรฐานการจัดบริการสวัสดิการสังคมแก่องค์กรที่ให้บริการกลุ่มเป้าหมาย และสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน
2. กำหนดมาตรการ แผนงาน และพัฒนากลไกเพื่อการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่กลุ่มเป้าหมาย
3. ดำเนินการตามพันธกรณีหรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
4. จัดทำข้อมูลและสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน
5. งานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและคณะกรรมการควบคุมการขอทาน
6. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

 

 
กลุ่มการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ
อำนาจหน้าที
1. พัฒนาระบบการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย
2. พัฒนารูปแบบการดำเนินงานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย
3. กำกับ ดูแล และสนับสนุนการดำเนินงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต
4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
 
 
กลุ่มการส่งเสริมและพัฒนา
อำนาจหน้าที่
1. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพ และประสานความร่วมมือหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น และกลุ่มคนไร้ที่พึ่งในการจัดสวัสดิการสังคมแก่กลุ่มเป้าหมาย
2. ส่งเสริมกระบวนการรวมกลุ่มพึ่งตนเองของกลุ่มเป้าหมายและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพ การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิกลุ่มเป้าหมาย
3. เสริมพลังและเสริมสร้างเจตคติเชิงบวกของสังคมและกลุ่มเป้าหมาย
4. พัฒนาองค์ความรู้เพื่อการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่องค์กรที่เกี่ยวข้อง
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

 
 
กลุ่มการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพ
อำนาจหน้าที่
1. ให้การช่วยเหลือ คุ้มครองและติดตามประเมินผลคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย
2. พัฒนาองค์ความรู้ด้านการช่วยเหลือคุ้มครองกลุ่มเป้าหมายตามบริบทพื้นที่
3. ประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรและการดำเนินงานจากองค์กรต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย
4. เยียวยาผู้ประสบเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
 
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 11 แห่ง
1.สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งสันมหาพน
2.สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งบ้านเมตตา
3.สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งภาคใต้
4.สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี
5.สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี
6.สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี
7.สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งประจวบคีรีขันธ์
8.สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งวังทอง
9.สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกุ่มสะแก
10สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งปรือใหญ่
11.สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งทับกวาง


อำนาจหน้าที่

1. สำรวจและติดตามสภาพและปัญหาเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ

2. สืบเสาะข้อมูลที่เกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่ง และผู้นำการขอทาน ที่ขอรับการคุ้มครองหรือที่ถูกส่งตัวมายังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและให้การคุ้มครองรวมทั้งรับตัวคนไว้

3. จัดให้มีที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุงห่มที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ จัดให้มีการตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิต ฝึกอบรมและฝึกอาชีพ รวมทั้งหาอาชีพให้แก่คนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน

4. ประสานงานเพื่อจัดส่งคนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครอง

5. ให้คำปรึกษาแนะนำ และช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน ในด้านการดำรงชีวิต ด้านกฎหมาย หรือด้านอื่น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

6. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

7. เป็นศูนย์เรียนรู้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทำการขอทาน
 

 
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 77 แห่ง

ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จ.กรุงเทพมหานคร
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดกระบี่
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดกำแพงเพชร
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดขอนแก่น
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดจันทบุรี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดชลบุรี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดชัยนาท
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดชัยภูมิ
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดชุมพร
 

ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดเชียงราย
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดตรัง
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดตราด
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดตาก
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนครนายก
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนครปฐม
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนครพนม
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนครสวรรค์

ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนครราชสีมา
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดน่าน
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดบึงกาฬ
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดปทุมธานี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดปราจีนบุรี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดพิจิตร
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดพัทลุง
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดพิษณุโลก
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดเพชรบูรณ์
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดภูเก็ต
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จ.มหาสารคาม
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดมุกดาหาร
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดยโสธร
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดยะลา
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดร้อยเอ็ด
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดระยอง
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดเลย
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดลำปาง
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดศรีสะเกษ
 
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสงขลา
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรปราการ
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสงคราม
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสิงห์บุรี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสุโขทัย
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสระบุรี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดอ่างทอง
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดอุดรธานี
 
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดอุตรดิตถ์
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดอุทัยธานี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดอำนาจเจริญ
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดกาญจนบุรี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดกาฬสินธุ์
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนนทบุรี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนราธิวาส
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดบุรีรัมย์
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
 
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดพะเยา
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดพังงา
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดเพชรบุรี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดแพร่
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดระนอง
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดราชบุรี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดลพบุรี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดลำพูน
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสกลนคร
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสตูล
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสระแก้ว
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดหนองคาย
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดหนองบัวลำภู
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดปัตตานี (ศูนย์ควบ)
ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสุรินทร์ (ศูนย์ควบ)
 
 

1. สำรวจและติดตามสภาพและปัญหาเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่ง
2. สืบเสาะข้อมูลที่เกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งที่ขอรับการคุ้มครองหรือที่ถูกส่งตัวมายังศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และให้การคุ้มครองในเบื้องต้นแก่คนไร้ที่พึ่ง รวมทั้งรับตัวคนไร้ที่พึ่งไว้
3. ประสานงานเพื่อจัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
4. ให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมอบหมายหรือตามศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเห็นสมควร
5.คัดกรองผู้ทำการขอทานก่อนประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. ดำเนินมาตรการเชิงรุกในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและบุคคลที่อยู่ในสภาวะลำบากเข้าสู่วิถีการขอทาน หรือเป็นบุคคลไร้ที่พึ่ง
7. เป็นศูนย์เรียนรู้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทำการขอทาน

 
ศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิต 3 แห่ง

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิตห้วยสัตว์ใหญ่
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิตมวกเหล็ก
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิตหนองแค

          ดูแลคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งได้รับการพัฒนาศักยภาพและคัดกรองจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และจัดให้มีการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ การฝึกอาชีพ การสังคมสงเคราะห์ นันทนาการและการพัฒนาทักษะในการใช้ชีวิตในครอบครัว ชุมชนและสังคม รวมทั้งให้บริการข้อมูลสารสนเทศ งานสวัสดิการคนไร้ที่พึ่งในพื้นที่รับผิดชอบ และองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกัน

 

 




 
 
 

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ
"การสื่อสารงานด้านสวัสดิการสังคม"

 

หน้าหลัก    |   เกี่ยวกับหน่วยงาน    |   ข้อมูลผู้บริหาร   |   ข่าวประชาสัมพันธ์   |   การให้บริการ   |   ดาวน์โหลด  |   ติดต่อเรา

จำนวนผู้เยี่ยมชมทั้งหมด
ผู้ออนไลน์ขณะนี้ 1 คน
 ทั้งหมด 3385729338572933857293385729338572933857293385729 คน

กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
1034 ถ.กรุงเกษม แขวงมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
โทรศัพท์:
02-6596267 | 02-6596276 | 02-6596271  Website:
www.wpq.dsdw.go.th 
  [] E-mail: webmaster@bsws.go.th